ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง
ข้อที่ 1. คำในข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ตรี
ก. คด
ข. โทษ
ค. โกรธ
ง. แหวน
ข้อที่ 2. คำในข้อใด มีเสียงวรรณยุกต์และรูปวรรณยุกต์ตรงกัน
ก. แย่
ข. เก้า
ค. เท้า
ง. สวด
ข้อที่ 3. คำในข้อใด มีเสียงวรรณยุกต์ไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์
ก. ป่า
ข. กล้า
ค. เร้า
ง. ปิ๋ว
ข้อที่ 4. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบ 5 เสียง
ก. เขาจะไปคิดเลข
ข. โป๊ะนี้ใช้จับปลา
ค. เขียนเสือให้วัวกลัว
ง. ตุ๊กตานี้น่ารัก
เฉลย
ข้อที่ 1. คำในข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ตรี
ก.
คด
ข.
โทษ
ค.
โกรธ
ง.
แหวน
วิเคราะห์
ในการหาคำตอบข้อนี้
คนออกข้อสอบออกเกี่ยวกับพื้นเสียงของวรรณยุกต์ เรามาดูตารางเทียบเสียงวรรณยุกต์กันก่อน
ตัวอักษร “ค
ควาย” เป็นอักษรต่ำ คำว่า “คด”
ก็เป็นคำตาย สระเสียงสั้น พื้นเสียงเป็นเสียงตรี
ดังนั้น
คำตอบที่ถูกต้องในข้อนี้คือ ข้อ ก.
ข้อที่ 2. คำในข้อใด
มีเสียงวรรณยุกต์และรูปวรรณยุกต์ตรงกัน
ก.
แย่
ข.
เก้า
ค.
เท้า
ง.
สวด
วิเคราะห์
โจทย์ข้อนี้
เราต้องใช้เทคนิคการจำของเรา
เทคนิคการจำ
อักษรสูงกับอักษรกลาง
ถ้ามีเครื่องหมายวรรณยุกต์ใด เสียงวรรณยุกต์จะตรงกัน ส่วนอักษรต่ำ ถ้ามีเครื่องหมายวรรณยุกต์เอกจะเป็นเสียงวรรณยุกต์โท
ถ้ามีเครื่องหมายวรรณยุกต์โทจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ตรี
ส่วนคำพื้นเสียงที่ไม่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์ต้องจำเอา
จากเทคนิคการจำนั้น
เราได้ความรู้ดังนี้
1)
คำพื้นเสียงที่ไม่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์ทั้งหมด ต้องเป็นคำตอบที่ผิด เพราะ
เสียงกับรูปวรรณยุกต์ไม่ตรงกัน
ดังนั้น ข้อ ง. สวด ผิดแน่ๆ
2)
คำที่มีอักษรต่ำนั้น ถ้ามีรูปวรรณยุกต์เอก
จะเป็นเสียงวรรณยุกต์โท ถ้ามีรูปวรรณยุกต์โท
จะเป็นเสียงวรรณยุกต์ตรี คำที่อักษรต่ำก็ผิแน่ๆ
ดังนั้น ข้อ
ก. แย่
กับ ข้อ
ค. เท้า ผิดแน่ๆ
3) ข้อ ก. ถูกต้อง และตรงกับหลักเกณฑ์ที่ว่า อักษรกลางกับอักษรสูงเท่านั้น
ที่มีรูปกับเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน
ข้อที่ 3. คำในข้อใด
มีเสียงวรรณยุกต์ไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์
ก.
ป่า
ข.
กล้า
ค.
เร้า
ง.
ปิ๋ว
วิเคราะห์
โจทย์ข้อนี้
เราต้องใช้เทคนิคการจำของเราเหมือนข้อข้างบน
คำตอบที่ถูก
ต้องเป็นคำที่ที่อักษรต่ำอยู่ด้วย เพราะ
คำที่มีอักษรต่ำอยู่ด้วย ถ้ามีรูปวรรณยุกต์เอก จะเป็นเสียงวรรณยุกต์โท ถ้ามีรูปวรรณยุกต์โท จะเป็นเสียงวรรณยุกต์ตรี
ดังนั้น
คำตอบที่ถูกต้องในข้อนี้คือ ข้อ ค. เร้า รูปวรรณยุกต์โท
แต่มีเสียงตรี
สำหรับข้อ ข. กล้า นั้น ถึงแม้ว่า
“ล” จะเป็นอักษรต่ำ แต่การที่มี “ก” นำหน้า
การผันเสียงวรรณยุกต์ต้องทำแบบอักษรกลาง เพราะ “ก” เป็นอักษรกลาง
ข้อที่ 4. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบ 5 เสียง
ก.
เขาจะไปคิดเลข
ข.
โป๊ะนี้ใช้จับปลา
ค.
เขียนเสือให้วัวกลัว
ง.
ตุ๊กตานี้น่ารัก
วิเคราะห์
ในการทำข้อสอบให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้นั้น
ในขณะที่หาเสียงวรรณยุกต์ให้กับคำทั้ง 5 คำนั้น
ถ้าข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ซ้ำกัน ก็แสดงว่า
ข้อนั้นผิดแน่นอน
ขอให้ดูตารางเทียบเสียงวรรณยุกต์ประกอบด้วย
ข้อ ก. เขาจะไปคิดเลข มีเสียงวรรณยุกต์ดังนี้
เขา = เสียงจัตวา
จะ = เสียงเอก
ไป = เสียงสามัญ
คิด = เสียงตรี
เลข = เสียงโท
ดังนั้น ข้อ ก
ถูกต้อง เราก็ไม่ต้องไปหาข้ออื่นอีก
ข้อแนะนำในการทำข้อสอบเพิ่มเติม
เรารู้มาว่า
ถ้าข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ซ้ำกันต้องผิด เราอาจจะหาข้อผิดได้เร็วขึ้น โดยการหาว่า
คำตอบในข้อใดเป็นอักษรประเภทเดียวกัน และมีวรรณยุกต์เดียวกัน
ข.
โป๊ะนี้ใช้จับปลา
คำว่า “นี้” กับ
“ใช้” เป็นอักษรต่ำเหมือนกัน วรรณยุกต์เหมือนกัน เสียงวรรณยุกต์ต้องซ้ำกัน
ค.
เขียนเสือให้วัวกลัว
คำว่า “เขียน”
กับ “เสือ” เป็นอักษรสูงเหมือนกัน วรรณยุกต์เหมือนกัน เสียงวรรณยุกต์ต้องซ้ำกัน
ง.
ตุ๊กตานี้น่ารัก
คำว่า “นี้” กับ
“รัก” เป็นอักษรต่ำเหมือนกัน “นี้” เป็นอักษรต่ำ เครื่องหมายวรรณยุกต์โท
จึงมีเสียงวรรณยุกต์ตรี
ส่วน “รัก” เป็นอักษรต่ำเหมือนกัน
เป็นคำตาย สระเสียงสั้น ซึ่งเป็นคำพื้นเสียง
จึงมีเสียงวรรณยุกต์ตรี