บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ข้อสอบวรรณยุกต์ไทย ชุดที่ 5

ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง

ข้อที่  1. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบ 5 เสียง
ก.  คัก  คั่ก  คั้ก  คั๊ก ขาง
ข.  คา  ข่า  ค่า  ค้า  ขา
ค.  คา  ค่า  ค้า  ก๊า  ก่า
ง.  คาง  ขาก  คาก  คัก  ขาง

ข้อที่  2. วรรณยุกต์จำแนกตามหลักการใช้ได้
ก.  พวก
ข.  3  พวก
ค.  4  พวก
ง.  5  พวก

ข้อที่  3. เดิมเครื่องหมายวรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 2 รูป อะไรบ้าง
ก.  เอก – ตรี
ข.  เอก – โท
ค.  โท – ตรี
ง.  ตรี – จัตวา

ข้อที่  4. การเพิ่มเครื่องหมายวรรณยุกต์เป็น 4 รูป เริ่มในสมัย
ก.  พระเจ้าลือไท
ข.  พระเจ้ารามคำแหง
ค.  พระเจ้าตากสิน
ง.  สมเด็จพระนารายณ์

เฉลย

ข้อที่  1. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบ 5 เสียง
ก.  คัก  คั่ก  คั้ก  คั๊ก ขาง
ข.  คา  ข่า  ค่า  ค้า  ขา
ค.  คา  ค่า  ค้า  ก๊า  ก่า
ง.  คาง  ขาก  คาก  คัก  ขาง

วิเคราะห์
โจทย์ข้อนี้ มันง่ายไป เพราะ ถ้าเราท่องเสียงวรรณยุกต์ในมือวิเศษของเราได้ เราก็รู้ได้ง่ายๆ ว่า ข้อ ข. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ถ้าเป็นผมออกข้อสอบ ข้อ ข. นี้ ตัวเลือกต้องคล้ายๆ ตัวเลือกของข้ออื่นๆ แต่มีเสียงวรรณยุกต์ครบ

ข้อที่  2. วรรณยุกต์จำแนกตามหลักการใช้ได้
ก.  พวก
ข.  3  พวก
ค.  4  พวก
ง.  5  พวก

วิเคราะห์
โจทย์ข้อนี้ ผมก็ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ ไม่รู้จะออกมาทำไม   คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ก.  คือ วรรณยุกต์มีรูป กับ วรรณยุกต์ลดรูป (ที่เป็นคำพื้นเสียง ไม่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์)

ข้อที่  3. เดิมเครื่องหมายวรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 2 รูป อะไรบ้าง
ก.  เอก – ตรี
ข.  เอก – โท
ค.  โท – ตรี
ง.  ตรี – จัตวา

วิเคราะห์
ข้อนี้ น่าสนใจ ข้อ ข. ถูกต้อง  คือ เสียงเอกกับเสียงโท  แต่เสียงโท เครื่องหมายไม่เหมือนปัจจุบัน เป็นเครื่องหมายกากบาท หรือ เครื่องหมายวรรณยุกต์จัตวาในปัจจุบันนี้
หลักฐานนั้น พบในหลักศิลาจารึก หลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหง


ข้อที่  4. การเพิ่มเครื่องหมายวรรณยุกต์เป็น 4 รูป เริ่มในสมัย
ก.  พระเจ้าลือไท
ข.  พระเจ้ารามคำแหง
ค.  พระเจ้าตากสิน
ง.  สมเด็จพระนารายณ์

วิเคราะห์
ข้อนี้ก็น่าสนใจ ข้อ ง. ถูกต้อง  หลักฐานนั้น พบในหนังสือจินดามณีในยุคกรุงศรีอยุธยา


ในการค้นคำตอบของข้อสอบชุดนี้ พบว่า  ในปัจจุบันมีการใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ตรีผิดกันมาก เลยเอาตัวอย่างคำของการใช้วรรณยุกต์ตรีที่ถูกต้องมาเผยแพร่ด้วย






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น