บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

การผันเสียงวรรณยุกต์

การผันเสียงวรรณยุกต์โดยทั่วๆ ไป ท่านมักจะแนะนำให้ท่องตามตารางการผันเสียงวรรณยุกต์ ดังนี้


อย่างไรก็ดี ผมว่าตารางดังกล่าวนั้น เหมาะสำหรับการเรียนเพื่อสร้างความเข้าใจ แต่ตารางสำหรับการสอบ  ผมสร้างตารางของผมให้เรียบง่าย ดังนี้  


คำในตารางนั้น จำคำเป็นให้มากๆ เพราะ ส่วนใหญ่คำตายไม่ค่อยมีใช้ในชีวิตประจำวัน  คนออกข้อสอบก็มักจะไม่ค่อยนำมาทำเป็นข้อสอบ

คนไหนเอาคำตายที่ไม่ใช่ในชีวิตประจำวันมาออกข้อสอบ มันก็ซาดิสม์เกินมนุษย์มนา สมควรที่จะสาปแช่งได้

หลักในการจำตารางแบบนี้

ถ้าจำตารางได้ เขียนตารางได้ มันก็แน่นอนอยู่แล้วว่า เราจะรู้ว่า คำไหนเป็นวรรณยุกต์เสียงไหน แต่เพื่อให้ทำข้อสอบเร็วขึ้น  เราก็ควรมีเทคนิคการจำเหมือนกัน ดังนี้

1) อักษรกลางกับอักษรสูงที่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์ เสียงตรงตามนั้น

2) อักษรต่ำที่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์ เสียงเลือนไปทางสูง 1 เสียง  หมายความว่า เราท่องตั้งแต่ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา คือ

มีเครื่องหมายวรรณยุกต์เอก ก็เป็นเสียงโท
มีเครื่องหมายวรรณยุกต์โท ก็เป็นเสียงตรี

3) คำที่ไม่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์ อาจเป็นอะไรก็ได้ใน 5 เสียงวรรณยุกต์

การดูตารางผันวรรณยุกต์ดังกล่าวผูกพันกับคำเป็นคำตายด้วย  เราก็ต้องมาดูกันว่า คำเป็นกับคำตายคืออะไร

คำเป็น หมายถึง คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่ออกเสียงได้สะดวก ซึ่งมีลักษณะข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้

คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น มา นี มี ตา มา ดู ปู ฯลฯ
คำหรือพยางค์ที่มีตัวสะกดในแม่ กง กน กม เกย เกอว เช่น กลาง คืน ลืม เลย เชียว ฯลฯ
คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระ อำ ใอ ไอ เอา เช่น ทำ ใจ ไป เอา ฯลฯ

คำตาย หมายถึง คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่ออกเสียงไม่สะดวก ซึ่งมีลักษณะข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้

คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา (ยกเว้น อำ ใอ ไอ เอา) เช่น สุ จิ ปุ ลิ ฯลฯ
คำหรือพยางค์ที่มีตัวสะกดในแม่ กก กด กบ เช่น  ยก ทัพ ตัด บท ฯลฯ

เทคนิคการจำ
คำไหนออกเสียงลากยาวต่อไปได้ คำนั้นเป็นคำเป็น

คำไหนออกเสียงลากยาวต่อไปไม่ได้ คำนั้นเป็นคำตาย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น