บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

เสียงวรรณยุกต์

คำในภาษาไทยนั้น ประกอบไปด้วยเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์  เสียงที่เป็นหัวใจของคำก็คือ เสียงสระ เพราะ คำแต่ละคำจะต้องมีเสียงสระอยู่ด้วยเสมอ

เสียงสระดังกล่าว จะต้องมีเสียงวรรณยุกต์รวมอยู่ด้วย จะขาดไม่ได้ เป็นธรรมชาติของภาษาไทย เสียงสระนั้น ถ้าออกเป็นเสียงสูงๆ ต่ำๆ ก็แสดงว่า มีการเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ด้วย

ที่ว่าเป็นธรรมชาติก็คือ ภาษาไทยเลือกเอาเสียงวรรณยุกต์มาจำแนกความหมายของคำด้วย ภาษาอังกฤษ ก็มีเสียงวรรณยุกต์ แต่ภาษาอังกฤษไม่เอามาจำแนกความหมายของคำ เท่านั้น

เรื่องวรรณยุกต์ภาษาไทย วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีเขียนไว้ ดังนี้

วรรณยุกต์ในภาษาไทย นับเป็นเสียงดนตรีตามตำราภาษาไทยสมัยโบราณ โดยแบ่งออกเป็น 5 เสียง ได้แก่ สามัญ เอก โท ตรี และจัตวา และมีเครื่องหมายกำกับเสียงวรรณยุกต์ ซึ่งเรียกว่า "วรรณยุกต์" ด้วยเช่นกัน

โดยที่เครื่องหมายวรรณยุกต์ อาจไม่ได้บ่งบอกถึงเสียงวรรณยุกต์นั้นเสมอไป เว้นแต่เมื่อกำกับคำเป็น ที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรกลาง

ข้อความข้างบนนั้น อธิบายง่ายๆ ก็คือ เครื่องหมายวรรณยุกต์ที่อยู่เหนือคำนั้น มันไม่ตรงกับเสียงเสมอไป  บางคำก็ไม่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์กำกับ แต่เสียงวรรณยุกต์ต้องมีเสมอ

ตรงนี้ ถ้าจะโทษก็ต้องไปโทษนักภาษาศาสตร์ยุคเก่าๆ ตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงลงมาว่า ทำไมไม่ทำให้มันง่ายกว่านี้

เสียงวรรณยุกต์ไทยตามหลักภาษาศาสตร์ แบ่งได้ดังนี้

เสียงสามัญ (ระดับเสียงกึ่งสูง-กลาง)
เสียงเอก (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ)
เสียงโท (ระดับเสียงสูง-ต่ำ)
เสียงตรี (ระดับเสียงกึ่งสูง-สูง)
เสียงจัตวา (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ-กึ่งสูง)


จากภาพนั้น จำให้ง่ายเลยก็คือ เสียงที่มันเรียบไปตลอดราวกับถนนสายเอเชียนั้น มี 3 เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก และเสียงตรี 

ที่แตกต่างกันก็คือ เสียงเอกเป็นเสียงต่ำ  เสียงสามัญเป็นเสียงกลาง เสียงตรีเป็นเสียงสูง

อีก  2 เสียงคือ เสียงโท กับเสียงจัตวา  เสียงไม่ได้เรียบอย่างนั้น  เสียงโทเหมือนเหว คือ ตกจากข้างบนมาข้างล่าง  เสียงจัตวาเหมือนขึ้นเขา คือ จากตีนเขา ไต่ขึ้นไปข้างบน

โดยปกติแล้ว คนไทยเมื่อได้ยินเสียงใดเสียงหนึ่งแล้ว ควรจะรู้ว่าเป็นเสียงใดในทันที แต่มันไม่ได้เป็นเช่นนั้น  เขาจึงเอาปัญหานี้ มาออกเป็นข้อสอบเสียเลย

เสียงวรรณยุกต์ที่กล่าวไปนั้น เป็นภาษาไทยกลาง คือ ของคนกรุงไทย  เสียงวรรณยุกต์ของคนต่างจังหวัดก็ต่างกันออกไป


ขอยกตัวอย่างเสียงวรรณยุกต์ของคนขอนแก่น ดังนี้ 





1 ความคิดเห็น:

  1. ช่วยแยกคำ.รูป.เสียงวรรณยุกต์ของคำว่า"โน้ตย่อ.เฉาก๊วย.ช้อนส้อม.จำปี

    ตอบลบ