บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

มือวิเศษ

ในบทความการผันเสียงวรรณยุกต์ ผมได้แนะนำการจำเสียงวรรณยุกต์โดยใช้ตารางผันเสียงวรรณยุกต์ไปแล้ว

ตารางดังกล่าวนั้น มีความจำเป็นมาก แต่อย่างไรก็ดี ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด  วิธีที่ดีที่สุดก็คือ เมื่อเราออกเสียงคำใดในภาษาไทยนั้น เราต้องรู้เลยว่า คำนั้นเป็นเสียงวรรณยุกต์ใด

วิธีการนี้ เป็นวิธีการที่นักภาษาศาสตร์ฝึกฝนกัน ตอนเรียนปริญญาโทผมก็ฝึกฝนอย่างหนัก แต่สารภาพจริงๆ ตอนที่เรียนอยู่ ผมก็ทำไม่ค่อยได้หรอก เพราะ ความจำเดิมมันขัดขวางความรู้ใหม่

เพื่อนที่เรียนมาจากเอกอื่นๆ ทำได้กันทุกคน  ผมมาเข้าใจเรื่องนี้จริงๆ ก็ตอนที่จบมาแล้ว

ขอยกตัวอย่างภาพของเสียงวรรณยุกต์ใหม่  ดังนี้


 เสียงวรรณยุกต์ทั้ง 5 เสียงนั้น มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ถ้าเราตั้งใจจำจริงๆ มันก็ต้องทำได้ 

เสียงเรียบตลอดไป ไม่มีสูงมีต่ำ คือ เสียงสามัญเป็นเสียงกลาง เสียงเอกเป็นเสียงต่ำ เสียงตรีเป็นเสียงสูง 

ลองออกเสียง กา...................... ยาวๆ ข่า...................ยาวๆ  ม้า............... ยาวๆ  เราก็จะรู้ว่า เสียงมันแตกต่างกันมาก

เสียงโท กับเสียงจัตวาก็แตกต่างกันเป็นอย่างมาก  ลองออกเสียงกันดู

ถ้าวิธีการดังกล่าวทำไม่ได้  หรือได้เป็นบางคำ  อีกวิธีหนึ่งก็คือ มือวิเศษ ดังภาพด้านล่าง



เสียงทุกเสียงในภาษาไทย สามารถผันเสียงวรรณยุกต์ได้ครบ 5 เสียงทุกคำ ผมขอยืนยันในฐานะนักภาษาศาสตร์

ที่ครูภาษาไทยบอกว่า อักษรกลางคำตายที่เป็นเสียงสามัญไม่มี มีแต่เสียงเอกนั้น เป็นการเข้าใจผิดของครูภาษาไทยเอง

ถ้าเราลองออกเสียงดู มันก็ออกได้  แต่มันไม่มีตัวเขียนเท่านั้นแหละ 


อย่าลืมว่า เสียงสามัญมันสูงกว่าเสียงต่ำ  เสียงต่ำคือ เสียงเอกยังออกได้ ทำไมเสียงสามัญจะออกไม่ได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น