บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ข้อสอบวรรณยุกต์ไทย ชุดที่ 6

ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง

ข้อที่  1. คำในข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ตรี
ก.  คด
ข.  โทษ
ค.  โกรธ
ง.  แหวน

ข้อที่  2. คำในข้อใด มีเสียงวรรณยุกต์และรูปวรรณยุกต์ตรงกัน
ก.  แย่
ข.  เก้า
ค.  เท้า
ง.  สวด

ข้อที่  3. คำในข้อใด มีเสียงวรรณยุกต์ไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์
ก.  ป่า
ข.  กล้า
ค.  เร้า
ง.  ปิ๋ว

ข้อที่  4. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบ 5 เสียง
ก.  เขาจะไปคิดเลข
ข.  โป๊ะนี้ใช้จับปลา
ค.  เขียนเสือให้วัวกลัว
ง.  ตุ๊กตานี้น่ารัก

เฉลย

ข้อที่  1. คำในข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ตรี
ก.  คด
ข.  โทษ
ค.  โกรธ
ง.  แหวน

วิเคราะห์
ในการหาคำตอบข้อนี้ คนออกข้อสอบออกเกี่ยวกับพื้นเสียงของวรรณยุกต์ เรามาดูตารางเทียบเสียงวรรณยุกต์กันก่อน



ตัวอักษร “ค ควาย” เป็นอักษรต่ำ  คำว่า “คด” ก็เป็นคำตาย สระเสียงสั้น พื้นเสียงเป็นเสียงตรี
ดังนั้น คำตอบที่ถูกต้องในข้อนี้คือ ข้อ ก.

ข้อที่  2. คำในข้อใด มีเสียงวรรณยุกต์และรูปวรรณยุกต์ตรงกัน
ก.  แย่
ข.  เก้า
ค.  เท้า
ง.  สวด

วิเคราะห์
โจทย์ข้อนี้ เราต้องใช้เทคนิคการจำของเรา
เทคนิคการจำ
อักษรสูงกับอักษรกลาง ถ้ามีเครื่องหมายวรรณยุกต์ใด เสียงวรรณยุกต์จะตรงกัน  ส่วนอักษรต่ำ ถ้ามีเครื่องหมายวรรณยุกต์เอกจะเป็นเสียงวรรณยุกต์โท  ถ้ามีเครื่องหมายวรรณยุกต์โทจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ตรี
ส่วนคำพื้นเสียงที่ไม่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์ต้องจำเอา
จากเทคนิคการจำนั้น เราได้ความรู้ดังนี้
1) คำพื้นเสียงที่ไม่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์ทั้งหมด ต้องเป็นคำตอบที่ผิด เพราะ เสียงกับรูปวรรณยุกต์ไม่ตรงกัน
ดังนั้น ข้อ ง. สวด  ผิดแน่ๆ
2) คำที่มีอักษรต่ำนั้น  ถ้ามีรูปวรรณยุกต์เอก จะเป็นเสียงวรรณยุกต์โท  ถ้ามีรูปวรรณยุกต์โท จะเป็นเสียงวรรณยุกต์ตรี  คำที่อักษรต่ำก็ผิแน่ๆ
ดังนั้น ข้อ ก.  แย่ กับ  ข้อ  ค. เท้า  ผิดแน่ๆ
3)  ข้อ ก. ถูกต้อง และตรงกับหลักเกณฑ์ที่ว่า อักษรกลางกับอักษรสูงเท่านั้น ที่มีรูปกับเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน

ข้อที่  3. คำในข้อใด มีเสียงวรรณยุกต์ไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์
ก.  ป่า
ข.  กล้า
ค.  เร้า
ง.  ปิ๋ว

วิเคราะห์
โจทย์ข้อนี้ เราต้องใช้เทคนิคการจำของเราเหมือนข้อข้างบน
คำตอบที่ถูก ต้องเป็นคำที่ที่อักษรต่ำอยู่ด้วย  เพราะ คำที่มีอักษรต่ำอยู่ด้วย ถ้ามีรูปวรรณยุกต์เอก จะเป็นเสียงวรรณยุกต์โท  ถ้ามีรูปวรรณยุกต์โท จะเป็นเสียงวรรณยุกต์ตรี  
ดังนั้น คำตอบที่ถูกต้องในข้อนี้คือ ข้อ ค. เร้า  รูปวรรณยุกต์โท แต่มีเสียงตรี
สำหรับข้อ ข. กล้า นั้น  ถึงแม้ว่า “ล” จะเป็นอักษรต่ำ แต่การที่มี “ก” นำหน้า การผันเสียงวรรณยุกต์ต้องทำแบบอักษรกลาง เพราะ “ก” เป็นอักษรกลาง

ข้อที่  4. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบ 5 เสียง
ก.  เขาจะไปคิดเลข
ข.  โป๊ะนี้ใช้จับปลา
ค.  เขียนเสือให้วัวกลัว
ง.  ตุ๊กตานี้น่ารัก

วิเคราะห์
ในการทำข้อสอบให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้นั้น ในขณะที่หาเสียงวรรณยุกต์ให้กับคำทั้ง 5 คำนั้น ถ้าข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ซ้ำกัน  ก็แสดงว่า ข้อนั้นผิดแน่นอน 
ขอให้ดูตารางเทียบเสียงวรรณยุกต์ประกอบด้วย
ข้อ ก. เขาจะไปคิดเลข มีเสียงวรรณยุกต์ดังนี้
เขา  เสียงจัตวา
จะ  เสียงเอก
ไป  เสียงสามัญ
คิด  เสียงตรี
เลข  เสียงโท
ดังนั้น ข้อ ก ถูกต้อง  เราก็ไม่ต้องไปหาข้ออื่นอีก

ข้อแนะนำในการทำข้อสอบเพิ่มเติม
เรารู้มาว่า ถ้าข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ซ้ำกันต้องผิด เราอาจจะหาข้อผิดได้เร็วขึ้น โดยการหาว่า คำตอบในข้อใดเป็นอักษรประเภทเดียวกัน และมีวรรณยุกต์เดียวกัน
ข.  โป๊ะนี้ใช้จับปลา
คำว่า “นี้” กับ “ใช้” เป็นอักษรต่ำเหมือนกัน วรรณยุกต์เหมือนกัน เสียงวรรณยุกต์ต้องซ้ำกัน

ค.  เขียนเสือให้วัวกลัว
คำว่า “เขียน” กับ “เสือ” เป็นอักษรสูงเหมือนกัน วรรณยุกต์เหมือนกัน เสียงวรรณยุกต์ต้องซ้ำกัน

ง.  ตุ๊กตานี้น่ารัก
คำว่า “นี้” กับ “รัก” เป็นอักษรต่ำเหมือนกัน “นี้” เป็นอักษรต่ำ เครื่องหมายวรรณยุกต์โท จึงมีเสียงวรรณยุกต์ตรี

ส่วน “รัก” เป็นอักษรต่ำเหมือนกัน เป็นคำตาย สระเสียงสั้น ซึ่งเป็นคำพื้นเสียง  จึงมีเสียงวรรณยุกต์ตรี 



ข้อสอบวรรณยุกต์ไทย ชุดที่ 5

ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง

ข้อที่  1. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบ 5 เสียง
ก.  คัก  คั่ก  คั้ก  คั๊ก ขาง
ข.  คา  ข่า  ค่า  ค้า  ขา
ค.  คา  ค่า  ค้า  ก๊า  ก่า
ง.  คาง  ขาก  คาก  คัก  ขาง

ข้อที่  2. วรรณยุกต์จำแนกตามหลักการใช้ได้
ก.  พวก
ข.  3  พวก
ค.  4  พวก
ง.  5  พวก

ข้อที่  3. เดิมเครื่องหมายวรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 2 รูป อะไรบ้าง
ก.  เอก – ตรี
ข.  เอก – โท
ค.  โท – ตรี
ง.  ตรี – จัตวา

ข้อที่  4. การเพิ่มเครื่องหมายวรรณยุกต์เป็น 4 รูป เริ่มในสมัย
ก.  พระเจ้าลือไท
ข.  พระเจ้ารามคำแหง
ค.  พระเจ้าตากสิน
ง.  สมเด็จพระนารายณ์

เฉลย

ข้อที่  1. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบ 5 เสียง
ก.  คัก  คั่ก  คั้ก  คั๊ก ขาง
ข.  คา  ข่า  ค่า  ค้า  ขา
ค.  คา  ค่า  ค้า  ก๊า  ก่า
ง.  คาง  ขาก  คาก  คัก  ขาง

วิเคราะห์
โจทย์ข้อนี้ มันง่ายไป เพราะ ถ้าเราท่องเสียงวรรณยุกต์ในมือวิเศษของเราได้ เราก็รู้ได้ง่ายๆ ว่า ข้อ ข. เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ถ้าเป็นผมออกข้อสอบ ข้อ ข. นี้ ตัวเลือกต้องคล้ายๆ ตัวเลือกของข้ออื่นๆ แต่มีเสียงวรรณยุกต์ครบ

ข้อที่  2. วรรณยุกต์จำแนกตามหลักการใช้ได้
ก.  พวก
ข.  3  พวก
ค.  4  พวก
ง.  5  พวก

วิเคราะห์
โจทย์ข้อนี้ ผมก็ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ ไม่รู้จะออกมาทำไม   คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ก.  คือ วรรณยุกต์มีรูป กับ วรรณยุกต์ลดรูป (ที่เป็นคำพื้นเสียง ไม่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์)

ข้อที่  3. เดิมเครื่องหมายวรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 2 รูป อะไรบ้าง
ก.  เอก – ตรี
ข.  เอก – โท
ค.  โท – ตรี
ง.  ตรี – จัตวา

วิเคราะห์
ข้อนี้ น่าสนใจ ข้อ ข. ถูกต้อง  คือ เสียงเอกกับเสียงโท  แต่เสียงโท เครื่องหมายไม่เหมือนปัจจุบัน เป็นเครื่องหมายกากบาท หรือ เครื่องหมายวรรณยุกต์จัตวาในปัจจุบันนี้
หลักฐานนั้น พบในหลักศิลาจารึก หลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหง


ข้อที่  4. การเพิ่มเครื่องหมายวรรณยุกต์เป็น 4 รูป เริ่มในสมัย
ก.  พระเจ้าลือไท
ข.  พระเจ้ารามคำแหง
ค.  พระเจ้าตากสิน
ง.  สมเด็จพระนารายณ์

วิเคราะห์
ข้อนี้ก็น่าสนใจ ข้อ ง. ถูกต้อง  หลักฐานนั้น พบในหนังสือจินดามณีในยุคกรุงศรีอยุธยา


ในการค้นคำตอบของข้อสอบชุดนี้ พบว่า  ในปัจจุบันมีการใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ตรีผิดกันมาก เลยเอาตัวอย่างคำของการใช้วรรณยุกต์ตรีที่ถูกต้องมาเผยแพร่ด้วย






ข้อสอบวรรณยุกต์ไทย ชุดที่ 4

ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง

ข้อที่  1. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบ 5 เสียง
ก.  เขารู้จักเล่นกล
ข.  เธออย่ามาช้านัก
ค.  ฉันอยากได้ดินสอ
ง.  เขาซื้อมาให้แล้ว

ข้อที่  2. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ต่างกับคำว่า “ผิด”
ก.  สิทธิ์
ข.  นิตย์
ค.  อิฐ
ง.  ปิด

ข้อที่  3. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์โท
ก.  ก่า
ข.  นี้
ค.  ค่า
ง.  หน่อ

ข้อที่  4. คำว่า “โลภ” เป็นเสียงวรรณยุกต์ใด
ก.  เอก
ข.  โท
ค.  ตรี
ง.  จัตวา

เฉลย

ข้อที่  1. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบ 5 เสียง
ก.  เขารู้จักเล่นกล
ข.  เธออย่ามาช้านัก
ค.  ฉันอยากได้ดินสอ
ง.  เขาซื้อมาให้แล้ว

วิเคราะห์
ข้อสอบอย่างนี้ ถ้าไปพบจริงๆ ในการสอบ ให้ข้ามไปก่อนเลย เพราะจะเสียเวลาในการสอบมาก
ในการทำข้อสอบให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้นั้น ในขณะที่หาเสียงวรรณยุกต์ให้กับคำทั้ง 5 คำนั้น ถ้าข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ซ้ำกัน  ก็แสดงว่า ข้อนั้นผิดแน่นอน  
ในการการทำข้อสอบข้อนี้  เราต้องใช้ตารางเทียบเสียงวรรณยุกต์



ในการทำข้อสอบนั้น เราอาจจะสุ่มทำข้อไหนก่อนก็ได้  สมมุติว่าในการทำข้อสอบครั้งนี้ เราเลือกทำข้อ ข. ก่อน 
ข้อความที่ว่า “เธออย่ามาช้านัก”  มีเสียงวรรณยุกต์ดังนี้
เธอ  =  เสียงสามัญ
อย่า  =  เสียงเอก
มา  =  เสียงสามัญ
ช้า  =  
นัก  =  
จะเห็นว่า ข้อ ข. ผิดแน่นอน เพราะ พบเสียงวรรณยุกต์ซ้ำกันแล้ว  ก็ไม่หาต่อไปให้เสียเวลา
ลองมาดูข้อ ง.  บ้าง
ข้อความที่ว่า “เขาซื้อมาให้แล้ว”  มีเสียงวรรณยุกต์ดังนี้
เขา  =  เสียงจัตวา
ซื้อ  =  เสียงตรี
มา  =  เสียงสามัญ
ให้  =  เสียงโท
แล้ว  =  เสียงตรี
จะเห็นว่า ข้อ ง. ก็ผิดเพราะ พบว่าเสียงวรรณยุกต์ตรีซ้ำกัน
โดยสรุป ข้อนี้ ข้อ ก. ถูก เพราะมีเสียงวรรณยุกต์ครบทั้ง 5 เสียง

ข้อที่  2. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ต่างกับคำว่า “ผิด”
ก.  สิทธิ์
ข.  นิตย์
ค.  อิฐ
ง.  ปิด

วิเคราะห์
โจทย์ข้อนี้ กำหนดคำว่า “ผิด” มาให้  คำว่า “ผิด” เป็นพื้นเสียง อักษรสูงคำตาย สระเสียงสั้น เป็นเสียงวรรณยุกต์เอก
ขอให้ดูตารางด้านบน  ถ้าเป็นอักษรกลางคำตายสระเสียงสั้น ก็จะมีเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน คือ เสียงวรรณยุกต์เอก
ดังนั้น  แค่เราพิจารณาตัวอักษรก็พอจะหาคำตอบได้แล้ว 
คำตอบที่ถูกต้องในข้อนี้คือ ข้อ ข.  คำว่า “นิตย์”  เป็นอักษรต่ำคำตายสระเสียงสั้น พื้นเสียงเป็นเสียงตรี

ข้อที่  3. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์โท
ก.  ก่า
ข.  นี้
ค.  ค่า
ง.  หน่อ

วิเคราะห์
โจทย์ข้อให้หาเสียงวรรณยุกต์โท  ในการทำข้อสอบถ้าจำเทคนิคด้านล่างได้ ก็จะทำข้อสอบได้เร็วขึ้น
เทคนิคการจำ
อักษรสูงกับอักษรกลาง ถ้ามีเครื่องหมายวรรณยุกต์ใด เสียงวรรณยุกต์จะตรงกัน  ส่วนอักษรต่ำ ถ้ามีเครื่องหมายวรรณยุกต์เอกจะเป็นเสียงวรรณยุกต์โท  ถ้ามีเครื่องหมายวรรณยุกต์โทจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ตรี
ส่วนคำพื้นเสียงที่ไม่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์ต้องจำเอา
จะเห็นว่า ข้อ ค. ถูกต้อง  ค. ควายเป็นอักษรต่ำ มีเครื่องหมายวรรณยุกต์เอก เสียงก็ต้องเสียงวรรณยุกต์โท

ข้อที่  4. คำว่า “โลภ” เป็นเสียงวรรณยุกต์ใด
ก.  เอก
ข.  โท
ค.  ตรี
ง.  จัตวา

วิเคราะห์
โจทย์ข้อนี้ หันมาเล่นเกี่ยวกับคำที่เป็นพื้นเสียงของเสียงวรรณยุกต์  เราจะใช้วิธีท่องเสียง 5 เสียงดูก่อน เพื่อความรวดเร็ว

[ไม่มีตัวเขียน]     [โหลภ]      [โลภ]      [โล้ภ]      [โล๋ภ]

ดังนั้น คำตอบที่ถูกต้องในข้อนี้คือ ข้อ ข. คือ วรรณยุกต์เสียงโท

ขอให้ไปตรวจสอบดูกับตารางด้านบนด้วย  จะเห็นว่า อักษรต่ำ คำตาย สระเสียงยาว พื้นเสียงเป็นเสียงวรรณยุกต์โท